homeprovincearchitecturepaintsculpturecontact
 

วัดใต้ บ้านยางขี้นก

ประวัติความเป็นมา

"ยางขี้นก" เดิมบริเวณด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านยางขี้นก มีหนองน้ำใหญ่ และมีต้นยางนาขึ้นมากมายและที่บริเวณต้นยางมีนกกระยางขาวจำนวนมาก เมื่อพลบค่ำนกกระยางขาวจะมานอนรวมกันบริเวณต้นยางนา ทำให้มีนกมากมายตอนเช้าจะมีขี้นกเต็มพื้นที่ขนาดกว้าง ชาวบ้านสามารถมาเก็บขี้นกใต้ต้นยางสำหรับนำไปเป็นปุ๋ยใช้ในการเกษตรได้ เมื่อชาวบ้านอพยพมาก่อตั้งบ้านเรือนใกล้บริเวณหนองน้ำเนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านยางขี้นก" จนกระทั่งถูกตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านและชื่อตำบล จนถึงทุกวันนี้
วัดใต้บ้านยางขี้นกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2413 โดยชาวบ้านในหมู่บ้านยางขี้นก  เจ้าอาวาสคนปัจจุบันคือ หลวงปู่จำปี ติขิณพะโล อายุ 65 ปี บวชได้ 5 พรรษาภายในวัดแห่งนี้ พบสิมเก่าที่ปัจจุบันเลิกใช้งานแล้วอยู่ด้วย ภายในสิมเดิมนั้นประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 1 เมตร สูง 1.30 เมตร ฐานชุกชีกว้าง 1.20 เมตร สูง 1.50 เมตร ด้านข้างลึก 0.60 เมตร
**ในช่วงที่เก็บข้อมูลนี้ชาวบ้านหมู่บ้านยางขี้นกได้ทำบุญสังฆทานประจำปี (จัดทุกวันพระใหญ่ในช่วงเข้าพรรษา)เป็นบุญที่เกิดจากความพร้อมใจกันของชาวบ้านหมู่บ้านยางขี้นก

ผู้ให้สัมภาษณ์  หลวงปู่จำปี ติขิณพะโล อายุ 65 ปี บวชได้ 5 พรรษา เจ้าอาวาส
นายจินดา คงสี อายุ 49 ปี กำนันตำบลยางขี้นก

 

ที่ตั้ง

วัดใต้บ้านยางขี้นก ม.10 บ.ยางขี้นก ต.ยางขี้นก อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

 

 

 
ด้านหน้าสิม

รูปแบบสิม ,วัสดุและโครงสร้าง

 

 
ด้านข้างสิม

 

รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้

แขนนางไม้แกะสลักรูปเทพพนม
 
ซุ้มประตูทางเข้า เสาด้านหน้าด้านล่างของฮังผึ้งแกะสลักเป็นนาค ซุ้มหน้าต่างแกะสลักแบบลำยองลายนาค
 
ฮังผึ้ง มีการสร้างปีกนกใหม่ยื่นปิดหน้าบัน
 

ภาพภายในสิม พระประธานองค์ปัจจุบันที่อยู่ในโบสถ์ใหม่นั้นเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งเป็นพระที่ญาติโยมจากกรุงเทพนำมาถวาย เป็นพระพุทธรูปโลหะทองเหลือง หน้าตักกว้าง 1.45 เมตร สูง 1.65 เมตร ฐานชุกชีกว้าง 2 เมตร สูง 1.80 เมตร ด้านข้างลึก 1.60 เมตร

 

ฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนังอีสาน)

 


บริเวณด้านนอกทางทิศเหนือพบรูปฮูปแต้มที่เหลือร่องรอยเพียงเล็กน้อยเนื่องจากการลบ ขูดออก เพราะเห็นว่าเป็นภาพการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว ชาวบ้าน กลัวเด็กๆ จะเอาเป็นเยี่ยงอย่าง ร่องรอยที่เหลืออยู่น้อยมาก แต่ก็พอที่จะมองเห็นถึงความสามารถ ความงามและฝีมือของช่างแต้มได้